orange carrot bar

“ท้องผูก” ปัญหาเรื้อรัง ที่พบเจอได้ทั่วไปจริงๆ

วันนี้เราจะมาพูดถึงอาการท้องผูก ว่าแท้จริงแล้ว เกิดจากสาเหตุอะไร ต้องทานอะไร ปรับพฤติกรรมอย่างไรถึงจะหาย และมีระบบขับถ่ายที่ดีขึ้น โดยเป็นการปรับสมดุลระยะยาว ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แล้วเกิดปัญหาเรื้อรังต่อไป

(bullet) เลือกคลิกไปบทความท่อนต่างๆได้

  • อาการท้องผูก เป็นอย่างไร
  • สาเหตุที่ทำให้ ท้องผูก เรื้อรัง
  • “4 ผัก” ใยอาหารสูง บอกลาท้องผูก
  • ปรับพฤติกรรมด่วน
  • เสี่ยงมะเร็งลำไส้ ท้องผูกเรื้อรัง

อาการท้องผูก คืออาการ กากที่เหลือจากอาหารเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่ ก่อนลงมาสู่ลำไส้ตรงได้ลำบาก หรือช้ากว่าปกติหากคุณมีอาการ

  • ถ่ายไม่ออก ถ่ายลำบาก 
  • ต้องนั่งถ่ายนานกว่าปกติ ถ่ายไม่สุด 
  • ยังปวดท้องถ่ายหลังจากถ่ายไปแล้ว เนื่องจากในลำไส้มีมวลของเสียที่มีลักษณะ แข็ง อัดแน่น
  • ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง/ สัปดาห์

นั่นเป็นสัญญาณบอกว่า คุณกำลังท้องผูก ภาวะลำไส้มีปัญหาในการบีบตัว ก็มีผลกับการขับถ่ายเช่นกัน เพราะจะทำให้ร่างกายสามารถขับถ่ายออกมาได้ยากขึ้น แต่อาการ ท้องผูก ไม่ได้หมายถึงการขับถ่ายยาก หรือไม่ขับถ่ายอย่างเดียว ในบางคนขับถ่ายได้ แต่ปวดท้องมากๆ ก่อนถ่าย และใช้เวลานานในการขัยถ่าย ก็เรียกว่าเป็นอาการท้องผูกเช่นกัน

สาเหตุปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ที่ทุกคนรู้กันดี ก็คือการทานอาหาร ที่ไม่มีกากใย ส่งผลให้มวลของเสียในลำไส้นั้นแข็ง และถ่ายยาก แต่มีหลายปัจจัยที่ทำให้เรามีอาการท้องผูก

มีโรคประจำตัว

เช่น โรคเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ หรือในผู้ป่วยติดเตียง 

การทานยาบางชนิด

  • ยาในกลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline หรือ nortriptyline ยารักษาอาการซึมเศร้า
  • ยาที่ทำให้การบีบตัวของทางเดินอาหารน้อยลง ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง เช่น Buscopan®
  • ยารักษาโรคพาร์กินสัน
  • ยากันชัก เช่น Dilantin®
  • ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ diltiazem, verapamil, clonidine
  • ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีนหรืออนุพันธ์ของมอร์ฟีน เช่น พาราเซตามอลชนิดที่มีส่วนผสมของโคเดอีน
  • เหล็กที่มีอยู่ในยาบำรุงเลือด
  • ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียมหรืออะลูมิเนียม
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เช่น diclofenac, piroxicam และ indomethacin
  • ยาอื่นๆ เช่น cholestyramine

มีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับลำไส้

  • มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ลำไส้ตีบตัน (stricture)
  • ลำไส้บิดพันกัน (volvulus)
  • ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น ภาวะช่องทวารหนักหย่อน (rectocele) การมีทวารหนักยื่น (rectal prolapse) การตีบของทวารหนัก (anal stenosis)
  • มีภาวะลำไส้แปรปรวน

ปัจจัยอื่นๆ 

  • การรับประทานอาหาร (ทานผักน้อย ทานน้ำน้อย ไม่ทานผลไม้ เป็นต้น)
  • พฤติกรรม หรืออิริยาบถระหว่างวัน เช่นนั่งตลอดทั้งวัน ไม่ลุกเดิน ไม่ขยับร่างกาย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ไม่สร้างนิสัยการขับถ่ายให้ตัวเอง (ดื่มน้ำหลังตื่นนอน เดิน เพื่อกระตุ้นขับถ่ายตอนเช้าทุกวัน)

อาหารปรับลำไส้แก้ท้องผูก

ปัจจัยสำคัญ ของอาการท้องผูก ก็คือ การเลือกรับประทานอาหาร  ต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และต้องมีสัดส่วนที่ถูกต้องด้วย

“4 ผักใยอาหารสูงบอกลาท้องผูก

อาหารที่มีคุณสมบัติ แก้อาหารท้องผูก ได้ระยะยาว อย่างยั่งยืน ก็คือ อาหารที่มีใยอาหารสูง (High Fiber) ได้แก่ ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี Bioveggie จะมาพูดถึง ผัก ที่มี ใยอาหารสูงกันค่ะ

แครอท (Carrot)

ในแครอท 100 กรัมมีใยอาหารสูงถึง 2.8 กรัม ถือว่าสูงมากทีเดียว และนอกจากใยอาหารแล้ว ยังมี Vitamin และแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีประโยชน์มาก จากผักสีส้ม นั่นก็คือ Beta-carotene มีคุณสมบัติหลักในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงผิวพรรณ ชะลอความแก่ และบำรุงสุขภาพดวงตา

ข้าวโพด (Corn)

ข้าวโพดมีเส้นใยอาหารสูง โดยข้าวโพดหวานที่ต้มแล้ว 1 ฝัก จะมีเส้นใยอาหารประมาณ 2.4 กรัม สามารถกินเป็นข้าวโพดต้ม ทานเล่น หรือนำมาประกอบเมนูต่างๆ เพิ่มความอร่อย และประโยชน์จากใยอาหาร

บร็อคลี่ (Brocoli)

บร็อคลี่ 100 กรัม หรือประมาณ ¼ หัว มีใยอาหาร 2.6 กรัม บร็อคโคลี่ นอกจากจะมีใยอาหารสูงแล้ว ยังมีวิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีนสูงกว่า เมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น เช่น Carotenoids บำรุงสายตา ลดความดัน ลดการอัดเสบ และมีคุณสมบัติต้านมะเร็งอีกด้วย

ผักโขม/ ปวยเล้ง (Amaranth/ Spinach)

ผักโขม/ ปวยเล้ง 100 กรัม มีใยอาหาร 2.2 กรัม นอกจากจะมีใยอาหารสูงแล้ว ปวยเล้ง 100 กรัมมี Vitamin C สูงเท่าความต้องการของร่างกาย และมี Beta-carotene สูงมากๆ เท่ากับ 2 เท่าของความต้องการของร่างกาย

ใยอาหารมี 2 ประเภทคือใยอาหารละลายน้ำและใยอาหารไม่ละลายน้ำ

1. ใยอาหารที่ละลายน้ำได้ (soluble fiber) เช่น เพ็กติน เบต้ากลูแคน มักจะปนอยู่กับส่วนที่เป็นแป้งในพืช เมื่ออยู่ในลำไส้เล็กจะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆ เอนไซม์ และกรดน้ำดี ทำให้เกิดโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเจล มักพบในสาหร่าย ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ กล้วย แครอท มะเขือเทศ บร็อคโคลี่ ส้ม องุ่น และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

2. ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble fiber) เช่น เซลลูโลส ลิกนิน ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ และทำให้อ่อนนุ่ม เส้นใยชนิดนี้พบมากในอาหารประเภทธัญพืช (เช่น ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ข้าวสาลี) รำข้าวสาลี รำข้าวเจ้า เมล็ดถั่วเปลือกแข็ง ผักต่างๆ เช่น ผักปวยเล้ง กะหล่ำปลีแดง เซเลอรี่

ลำไส้ดีสุขภาพดีแน่นอน

การทำงานของลำไส้อวัยวะสำคัญไม่แพ้ส่วนใด

ลำไส้เป็นอวัยวะหนึ่ง ที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น เพราะลำไส้เปรียบเสมือนประตูสารอาหารประจำร่างกายที่จะเปิดรับทุกอย่างที่เรากินเข้าไป ไม่ว่าอาหารที่เรากินเข้าไปนั้น จะมีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ต่อร่าง ลำไส้ก็จะย่อย และดูดซับสารอาหารที่ดี หรือไม่ดีเหล่านั้นเข้าสู่งร่างกาย ส่วนกากใยของอาหารที่ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมได้ จะถูกลำเรียงออกมาเป็นของเสีย

เพราะฉะนั้น เราต้องเลือกกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ เข้าสู่ร่างกาย มากกว่าอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น Fast Food, อาหารสำเร็จรูป, ขนมกรุบกรอบ, หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินที่ร่างกายต้องการ

Share on